วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราช

การนับศักราช
1. การนับศักราชแบบไทย
ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี
1.1 พุทธศักราช(พ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยเริ่ม พ.ศ. 1 ปีที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บางยุคสมัยต่อมาเปลี่ยนไปใช้ศักราชแบบอื่นบ้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ประกาศให้ใช้การนับศักราช พ.ศ.เป็นทางการ มาจนถึงปัจจุบัน
1.2 มหาศักราช(ม.ศ.) เป็นศักราชที่พระเจ้ากนิษกะกษัตริย์อินเดียตอนเหนือคิดขึ้นมาใช้ เมื่อ พ.ศ.622 หลักฐานที่มีการใช้คือ หลักศิลาจารึก หลักที่ 1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
การเทียบ ม.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621 (ม.ศ.+621 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ม.ศ. ให้ลบ ด้วย 621 (พ.ศ.- 621 = ม.ศ.)
1.3 จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นสักราชที่กษัตริย์พม่าสมัยพุกามเป็นผู้ตั้งขึ้น ได้แพร่มาสู่ไทยสมัยอยุธยา ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ พบมากในพงศาวดาร ตำนาน และจดหมายเหตุ
การเทียบ จ.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181 (จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น จ.ศ. ให้ลบ ด้วย 1181 (พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.)
1.4 รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่รัชกาลที่5โดยเริ่มนับร.ศ.1ปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2325)
การเทียบ ร.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2325 (ร.ศ. + 2325 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ร.ศ. ให้ลบด้วย 2325 (พ.ศ. - 2325 = ร.ศ.)

2. การนับศักราชแบบ สากล ชาวต่างประเทศที่เข้าในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้บัทึกเรื่องราวที่ตนพบเห็นเป็นศักราชดังนี้ 2.1 คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับ ค.ศ. 1 เมื่อ พระเยซูประสูติ(ตรงกับพ.ศ. 544) 2.2 ฮิเราะห็ศักราช (ฮ.ศ) เป็นศาสนาของศาสนาของอิสลาม เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ในปีที่พระนบี มุฮัมหมัดศาสดาของศาสนาอิสลามหนีออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา(ตรงกับ พ.ศ. 1123) การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งเป็น 2 สมัย คือ 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่ยังไม่มีการใช้การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่ง 2 ยุคย่อย คือ 1.1 ยุคหิน (ในดินแดนประเทศไทย)
ยุคหินเก่า 700,000 - 10,000 ปีมาแล้ว พบเครื่องมือหินกรวดกระเทาะหน้าเดียว ที่อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, บ้านเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีและอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่
ยุคหินกลาง 10,000 - 4300 ปีมาแล้ว รู้จักประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา ใช้เครื่องมือทำด้วยหินที่ประณีต รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ฝังศพ แหล่งพบหลักฐาน ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน , ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ยุคหินใหม่ 4300 - 2000 ปีมาแล้ว เครื่องมือทำด้วยหินขัด โดยตกแต่งให้ใช้งานดีขึ้นกว่าเดิมพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้ประณีตมากขึ้น เช่นทำแบบมีสามขา เขียนลวดลายและสี
แหล่งค้นพบ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี, บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี, บ้านโนนนกทาจัหวัดขอยแก่น 1.2. ยุคโลหะ แบ่งย่อยเป็น
ยุคสำริด 3500 ปี - 2500 ปี รู้จักถลุงแร่นำมาผสมเรียกว่าสำริด คือทองแดงกับดีบุก เพื่อทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น มีด ขวาน หอก หัวลูกศร กลอง แหวน กำไร ฯลฯแหล่งค้นพบ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี , บ้านโคกพลับจังหวัดราขบุรี
ยุคเหล็ก 2500 ปี - 1500 ปี มาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กมาทำเป็นอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้แหล่งค้นพบ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี , บ้านเชียง จ.อุดรธานี 2. สมัยประวัติศาสตร์ (ในประเทศไทย) เริ่มนับจากปีที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย การแบ่งสมัยประศาสตร์ของไทยแบ่งได้ 3 ลักษณะ 1. แบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี ได้แก่ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ 2. แบ่งตามลักษณะการปกครอง คือสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช และสมัยประชาธิปไตย 3. แบ่งตามประสัติศาสตร์สากล คือ
สมัยโบราณ เริ่มก่อนสุโขทัย จนสิ้นสมัยรัชกาลที่ 3
สมัยใหม่ (สมัยปรับปรุงประเทศ) เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงพ.ศ. 2475
ปัจจุบัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน
วิธีการเทียบศักราช
เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ. พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543 พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621 พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181 พ.ศ. =ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น